ปริมาณนักเรียน นักศึกษามากขึ้น ผู้ให้บริการมากขึ้น ตัวเลือกการเรียนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้คือแนวทางบางประการของการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในทศวรรษที่ผ่านมา การประชุม World Higher Education Conference (WHEC2022) จะนำเทรนด์และความท้าทายล่าสุดบางส่วนมามุ่งเน้นในการออกแบบแผนงานสำหรับอนาคต ในโอกาสนี้ WHEC จะมองย้อนกลับไปเพื่อระบุแนวโน้มที่สำคัญบางอย่าง เริ่มตั้งแต่การประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษาระดับอุดมศึกษาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 และต่อเนื่องมาหลายปี ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระดับอุดมศึกษาได้เติบโตและเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านภายในปี พ.ศ. 2563 นักเรียน นักศึกษาทั่วโลกได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาระดับอุดมศึกษาถึง 228 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 82 ล้านคนในปี พ.ศ. 2538 ใน Global North จำนวนนักเรียนซบเซาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2549 Global South เปลี่ยนจากการมีการลงทะเบียนเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย มาเป็นสามในสี่ในปี พ.ศ. 2561 แต่แม้จะมีร่องรอยแห่งการเติบโตนี้ ความไม่เท่าเทียมกันที่สำคัญยังคงมีอยู่ทั่วโลก เพียง 1% ของนักเรียนที่ยากจนที่สุดที่มีอายุระหว่าง 25-29 ปีเท่านั้นที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา 4 ปี เทียบกับ 20% ของนักเรียนที่ร่ำรวยที่สุด จากการสำรวจ 76 ประเทศในปี 2560
โอกาสใหม่ ความท้าทายใหม่
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้สร้างโอกาสอย่างมากในการศึกษาระดับอุดมศึกษา ความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีดิจิทัล โซเชียลมีเดีย และอุปกรณ์พกพา ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงความรู้และเนื้อหาทางการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ ปัญญาประดิษฐ์(AI)สำหรับการเรียนการสอน VR และซีเรียสเกมได้ขยายโอกาสที่เกิดจากการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การสอนเชิงโต้ตอบแบบใหม่ที่ใช้อีเลิร์นนิงได้พิสูจน์ประสิทธิภาพแล้วว่าสามารถใช้ได้จริง แต่อย่างไรก็ตาม ความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัลกลับมาเป็นจุดสนใจอีกครั้ง เนื่องจากโควิด-19 ทำให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาหยุดชะงักในรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เมื่อการเรียนรู้แบบตัวต่อตัวหยุดลงในกว่า 190 ประเทศ สถาบันหลายแห่งสามารถเปลี่ยนไปสู่การเรียนรู้ออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว แต่บางสถาบันไม่สามาถทำได้ โดยข้อจำกัดเหล่านี้ถูกเปิดเผยอย่างรวดเร็วในประเทศที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีประชากร 96% ของประชากร 2.9 พันล้านคนที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ตมาก่อน สำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาสหลายๆ คน การย้ายไปสู่การเรียนรู้ทางออนไลน์ก็ได้ลดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา ความท้าทายเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นควบคู่กับการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เพิ่มขึ้นตามวาระการพัฒนาระหว่างประเทศในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ภายใต้ขบวนการ Education for All ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสำคัญกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 2000 ความสนใจก็เปลี่ยนไปสู่การศึกษาระดับประถมศึกษาภายใต้เป้าหมายการพัฒนา Millennium Development Goals และในปี ค.ศ. 2015 ความสนใจก็เปลี่ยนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นำการศึกษาระดับอุดมศึกษากลับคืนสู่วาระการศึกษานานาชาติ โดยตระหนักถึงความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมด และการสนับสนุน ในเรื่องระบบการศึกษาที่เท่าเทียมและมีคุณภาพ
การประชุมการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับโลก(WHEC)ของUNESCO ในหัวข้อการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกันมีความสำคัญเพิ่มขึ้น UNESCO ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวของสหประชาชาติที่ได้รับมอบอำนาจด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้จัดการประชุมระดับโลก 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2552 การประชุมครั้งแรกเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและดำเนินการปฏิรูปขนานใหญ่เพื่อจัดการกับสิ่งเหล่านี้อย่างเร่งด่วนและตรงประเด็น หนึ่งทศวรรษต่อมา ในปี 2552 การประชุมโลกครั้งที่สอง ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่จะยอมรับว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็น public good เพื่อพัฒนาการวิจัย นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์และเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมความรู้ที่หลากหลายและครอบคลุม งาน WHEC 2022 (จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2565)นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Reinventing Higher Education for a Sustainable Future เน้นความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของโลกในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม และความขัดแย้ง สนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เปิดกว้างขึ้นสำหรับกลุ่มนักศึกษาที่ใหญ่ขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
อ้างอิง Higher education in a changing and challenging world.(2022). https://www.iiep.unesco.org/en/higher-education-changing-and-challenging-world-14177