ห้าสถานการณ์เพื่ออนาคตของการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถ การศึกษาในปี 2030

ตลาดการศึกษาทั่วโลกถูกประเมินมูลค่าถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์เป็นอย่างต่ำภายในปี 2030 เนื่องจากการเติบโตขึ้นของจำนวนประชากร และเทคโนโลยีที่ช่วยผลักดันให้เกิดทักษะใหม่ ๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยปัจจัยที่ขับเคลื่อนรูปแบบการศึกษาในปี 2030 ได้แก่ การเติบโตของโลกาภิวัตน์ ซึ่งทำให้เกิดตลาดเกิดใหม่ ที่จะเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ประเทศเกิดใหม่เหล่านี้พัฒนาสถาบันของตน ส่งเสริมเสถียรภาพทางสังคมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งประเทศเหล่านี้จะกลายเป็นสถานที่ที่น่าดึงดูดสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิต ดึงดูดการลงทุนและความสามารถ การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก โดยประชากรโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 200,000 ในแต่ละวัน หรือเพิ่มคนอีก 1 พันล้านคนภายในปี 2030 สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อรูปแบบการศึกษาในปัจจุบันให้ขยายขนาดอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อนาคตของงานและทักษะ โดยมีความไม่แน่นอนอย่างมากเกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน ผลกระทบของระบบอัตโนมัติ และวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดสำหรับสังคมในการพัฒนาทุนมนุษย์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AI Machine learning และ Block chain ถือเป็นทั้งภัยคุกคามและโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ความเร็วและรูปแบบของผลกระทบจะกำหนดลักษณะสำคัญ ๆ ของระบบการศึกษา และอาจส่งผลต่อวิธีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ จึงนำไปสู่สำรวจห้าสถานการณ์เพื่ออนาคตของการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถในปี 2030

Education in 2030.Global Scenarios

สำรวจห้าสถานการณ์

สถานการณ์จำลองไม่ได้เป็นการทำนายอนาคต แต่นำเสนอภาพรวมของช่วงของอนาคตที่เป็นไปได้จากข้อมูลในปัจจุบัน ซึ่งได้ทำการตีความประสบการณ์ส่วนตัว ปริมาณและความซับซ้อนของข้อมูลและความคิดเห็นที่สร้างขึ้นเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว สถานการณ์จำลองสามารถเพิ่มความอ่อนไหวต่อสัญญาณเริ่มต้นของแนวโน้มที่เกิดขึ้นได้ ห้าสถานการณ์ที่นำเสนอในโครงการนี้จะนำเสนอผลลัพธ์ที่เป็นไปได้โดยพิจารณาจากการผสมผสานของตัวขับเคลื่อนหลักที่แตกต่างกันี่ซึ่งอาจส่งผลต่อการศึกษาและการเรียนรู้ในอนาคต

1. การศึกษาตามปกติ

ในปี พ.ศ. 2573 เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากช่วงที่ผลผลิตที่ซบเซาในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แนวโน้มทางประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดปริมาณแรงงานลง อย่างไรก็ตาม กลุ่มแรงงานใหม่ที่มีการศึกษามากขึ้นจากประเทศกำลังพัฒนาได้เข้าสู่กำลังแรงงานทั่วโลกแล้ว และมีส่วนช่วยในการเพิ่มผลิตภาพและความเท่าเทียมกันของรายได้ทั่วโลก

สถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิมยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อถือได้และเป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานและความเจริญรุ่งเรือง อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนทักษะเรื้อรังในระบบเศรษฐกิจขั้นสูงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากร ระบบอัตโนมัติ และความต้องการของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องการทักษะใหม่ของคนงานพลัดถิ่นจำนวนมาก ได้สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อสถาบันแบบดั้งเดิม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีโครงสร้างหรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ตามขนาดได้อย่างรวดเร็ว และในแบบที่ผู้เรียนคาดหวัง

2. ภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น

ในปี 2030 เศรษฐกิจโลกมีการบูรณาการตามแนวภูมิภาคมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางประชากรที่สำคัญในช่วง 10 ปีระหว่างปี 2020-2030 จะส่งผลกระทบต่อประเทศและภูมิภาคต่างกัน โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะถูกท้าทายด้วยจำนวนแรงงานสูงอายุและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีประชากรในวัยทำงานส่วนใหญ่ของโลกในปี 2030 จำเป็นต้องเปิดโอกาศทางการศึกษา และงานสำหรับประชากรที่กำลังเติบโต ทั้งนี้ ความร่วมมือระดับภูมิภาคจะเป็นแนวทางในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจให้บรรลุประสิทธิภาพ และบรรเทาการจัดหาทุนมนุษย์ที่ไม่เพียงพอหรือมากเกินไป ซึ่งได้กลายเป็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของศตวรรษที่ 21 ในขณะที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ประจำชาติไว้ได้

3. Global Giants

โลกาภิวัตน์ทำให้โลกใกล้ชิดกันมากขึ้นในปี 2030 ผ่านการค้าระหว่างประเทศ เทคโนโลยี การลงทุน และทุนมนุษย์ เนื่องจากข้อตกลงพหุภาคีและนโยบายตลาดเสรีได้ขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ และสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ที่มั่นคงได้ช่วยส่งเสริมการแข่งขันและการเติบโตของโลก โดยเทคโนโลยีจะทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างประชากรอย่างไม่เคยมีมาก่อน และการแลกเปลี่ยนความคิด ค่านิยมระหว่างวัฒนธรรม กิจกรรมทางการเมืองได้ยกระดับไปสู่ระดับโลก เนื่องจากองค์กรระหว่างรัฐบาลมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคง การค้าและการพาณิชย์

4. Peer-to-Peer

ในปี 2030 เศรษฐกิจแบบ peer-to-peer (P2P; การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นจะมีความเท่าเทียมกัน) จะได้กลายเป็นกระแสหลักทั่วโลก สังเกตได้จากในปัจจุบัน การเชื่อมต่อแลนไร้สายได้กลายเป็นที่เป็นที่ยอมรับในวิถีชีวิต การทำงาน การเรียนรู้ และการสร้างรายได้ ซึ่งมีข้อดีทั้งต้นทุนที่ลดลงและเพิ่มการเชื่อมต่อที่กว้างขวางมากขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ นอกเหนือจากการซื้อขาย ระบบ Peer-to-Peer ยังส่งผลต่อการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ที่หลากหลายและมีความเป็นส่วนตัว อีกทั้งยังได้ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์โดยรวมและทรัพย์สินทางปัญญาของผู้สอน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนและแบ่งปันชุดเนื้อหาหลักสูตรขนาดใหญ่ แผนการสอน กิจกรรม แบบทดสอบ การทดสอบ การแก้ปัญหา และอื่น ๆ ในรูปแบบดิจิทัลทั้งหมดผ่านแพลตฟอร์มระดับโลกที่มีความสามารถในการค้นหา ให้คำแนะนำ การให้คะแนน และการแปลเชิงลึก ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการสอนทั่วโลก

5. Robo Revolution

ความก้าวหน้าและการประยุกต์ใช้ AI ได้ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญแก่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกภายในปี 2030 เนื่องจากแรงงานที่ป้อนเข้ามาในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วมีการชะลอตัวลง แต่การขับเคลื่อนการเติบโตโดยรวมจำเป็นต้องมีการเติบโต ดังนั้น ประเทศที่มีบุคคลมีความสามารถแต่ขาดแคลนแรงงานจึงได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในหลายอุตสาหกรรม ส่งผลให้งานสามารถดำเนินต่อไปอย่างอัตโนมัติ ผลผลิตที่ได้รับจากกระบวนการอัตโนมัติ กำลังแรงงานที่เสริมด้วย AI และความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการที่เสริมด้วย AI จะมีส่วนทำให้เศรษฐกิจโลกมีมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์

บทความโดย

นายอคพลรักษ์  เชื้อมุข

อ้างอิง

Education in 2030 – The $10 Trillion dollar question – HolonIQ

> https://www.holoniq.com/2030

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *