ติดตาม! “การปรับตัวของมหาวิทยาลัยในอนาคตหลัง COVID-19”
จากโครงการสัมมนา The Lighthouse Class วันที่ 31 กรกฎาคม 2563
โดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
และกรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ในการบริหารความเสี่ยง โควิดเป็นตัวอย่างของความเสี่ยงสำคัญระดับโลกในขณะนี้ อันทำให้เกิดโลกใหม่หลังโควิดที่จะไม่เหมือนเดิม ซึ่งโควิดได้แบ่งโลกออกเป็น 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน คือ
BC = Before COVID (โลกก่อนโควิด)
AD = After Drugs & Vaccine (โลกหลังโควิด)
จะเห็นได้ว่าเราอยู่บนโลกที่พลิกผัน (VUCA) มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และจะเป็นสภาวะที่เราต้องพบเจออยู่ตลอดในโลกปัจจุบัน วิธีการการบริหารความเสี่ยงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะโลกเราเปลี่ยนไว มีความไม่แน่นอน มีความซับซ้อน และคาดเดาได้ยาก ดังต่อไปนี้
- โลกที่พลิกผัน (VUCA)
V- Volatility (เปลี่ยนไว) คือ ความผันผวนสูง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีขนาดใหญ่ขึ้น ไม่สามารถคาดเดาหรือทำนายได้ หรือเป็นสถานการณ์เปลี่ยนฉับพลัน แบบตั้งตัวไม่ทัน หรือรวดเร็วมาก
U-Uncertainty (ไม่แน่นอน) คือ สภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง พยากรณ์ได้ยาก ขาดความชัดเจน มีเรื่องให้แปลกใจบ่อยๆ ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนหรือการตัดสินใจในการบริหาร
C-Complexity (ซับซ้อน) คือ ความซับซ้อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ มีองค์ประกอบมากที่มีความเชื่อมโยงกัน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะกระทบไปส่วนอื่นได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยก็อาจจะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ได้
A-Ambiguity (คลุมเครือ) คือ ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่สามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจน และสามารถตีความได้หลายอย่าง
- เราควรจะเข้าใจและอยู่กับโลก VUCA ได้อย่างไร ?
- กรอบคิดการอยู่บนโลก VUCA โดยการแบ่งจากสิ่งที่เรารู้และสิ่งที่เราไม่รู้ และบริหารจัดการโดยการสังเกตและการตั้งคำถาม เปลี่ยนจากโลกที่มัน Unknown Unknown มาเป็นโลกที่ known มากยิ่งขึ้น
- ในยุคโควิด โลกมีสิ่งที่เราไม่รู้อยู่เยอะ (Unknown Unknown) ซึ่งไม่สามารถใช้กลยุทธ์บริหารจัดการความเสี่ยงได้ เราต้องเปลี่ยนจากโลกที่เป็น Unknown Unknown มาเป็นโลก known Unknown (มีความน่าจะเป็น 50%) ซึ่งก็คือความเสี่ยง (Risk) ที่เรารู้จักและทำมานานพอสมควร และเรามีความรู้วิธีการที่จะจัดการกับความเสี่ยงได้ เช่น รายได้ของมหาวิทยาลัยที่จะเข้ามาเป็นแบบ Known Unknown คือ 50 % ได้งบประมาณจากรัฐบาล และอีก 50% ไม่ได้ จะต้องวางแผนจัดการความเสี่ยงได้อย่างไร หรือการซื้อประกันเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ เป็นต้น
- โลกใหม่หลังโควิด
- New Normal ≠ Current Abnormal (ถ้าโลกหลังโควิด โควิดควบคุมได้แล้ว การใส่หน้ากากก็ไม่จำเป็นต้องมี) และ New Normal ≠ Old Abnormal
- ลักษณะใหม่ของโลกหลังโควิด
- Accelerate การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีเทรนด์อยู่แล้วให้เร็วขึ้น เป็นการบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิภาพมุ่งไปในทางเดียวกัน
– เศรษฐกิจจากบ้าน เช่น การคืนพื้นที่ตึกเช่าสำนักงาน การ Work From home เพื่อลดความเลี่ยงการติดเชื้อโควิด ทำให้พบว่าการทำงานจากบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมประหยัดต้นทุนค่าเช่าพื้นที่
– 5G / คลาวด์
– เนื้อหาออนไลน์
- Delay
– พลังงานทดแทน (เช่น เศรษฐกิจเติบโตช้าลง ราคาน้ำมัน ราคาแก๊สธรรมชาติลดลง ค่าไฟฟ้าถูกลง การลงทุนในพลังงานทดแทนจะมีระยะเวลาในการคืนทุนยาวขึ้น ได้ผลตอบแทนช้าลง จึงทำให้ต้องชะลอโครงการออกไป เป็นต้น)
– หุ่นยนต์ (เนื่องจากคนว่างงานเยอะขึ้น ค่าจ้างแรงงานจะถูกลง อีกทั้งบริษัทมีเงินน้อยลงในการลงทุนหุ่นยนต์)
– เมกะโปรเจคต์ (ภาครัฐจะเหลือเงินน้อยลงไม่สามารถทำโครงการขนาดใหญ่ได้)
- Reverse
– การลดความยากจน (แต่เกิดโควิดทำให้คนจนจะเพิ่มขึ้นจากการว่างงาน)
– โลกาภิวัตน์ (โดยปกติมีแนวโน้มลดลงอยู่แล้ว)
- มหาวิทยาลัยปรับตัว…สู้โควิด
- ปรับการเรียน – การสอนสู่ออนไลน์อย่างไรดี
– ต้องใช้อะไรบ้าง (คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต วิธีการใหม่)
– มีมาตรการช่วยนิสิตนักศึกษาอย่างไร
– ปฏิสัมพันธ์สำคัญที่สุด
– อาจารย์ไทยพร้อมหรือไม่ การเตรียมวิธีการสอนต้องไม่เหมือนเดิม
– การติดตามความเข้าใจและการให้คำปรึกษา นิสิต นักศึกษาเรียนเข้าใจหรือไม่
– สร้างชุมชนการเรียนรู้…สู่การเรียนใหม่ (ช่วยนิสิตนักศึกษารู้จักกัน หนุนการทำงานกลุ่ม)
- ปรับการเรียนในห้องแบบ Blended Classroom
โดยให้นิสิตนักศึกษาเตรียมตัวก่อนมาเรียนโดยเรียนจากออนไลน์ การเรียนในห้องเรียนปกติในมหาวิทยาลัยปรับเป็น “ห้องเรียนกลับทาง”… สร้างการเรียนรู้ใหม่
– เรียนแบบมีส่วนร่วม
– เรียนแก้ปัญหา
– เรียนจากปฏิบัติ
– เรียนจากการสร้าง
ทุกวิกฤติ มองดีๆ จะมีโอกาส
” ทุกวิกฤติ จะมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ “