สรุป! “10 เทรนด์ธุรกิจและผู้บริโภคหลังยุค COVID-19”

สรุป! “10 เทรนด์ธุรกิจและผู้บริโภคหลังยุค COVID-19″
จากโครงการสัมมนา The Lighthouse Class วันที่ 23 กรกฎาคม 2563
โดย คุณธรรศภาคย์ เลิศเศวตพงษ์ นักคิด นักเขียน ที่ปรึกษา
ด้านการออกแบบคุณค่าและโมเดลธุรกิจและเจ้าของเพจ Trick of the Trade


10 เทรนด์ธุรกิจและผู้บริโภคหลังยุค COVID-19

  1. Convenience = Simple + Pleasant (เน้นความสะดวก เรียบง่าย พึงพอใจ) เทรนด์ธุรกิจที่ตอบโจทย์ในยุคนี้ และอยู่ในความสนใจมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจ Food Delivery และสินค้าหรือบริการ ที่เกี่ยวกับ Online Transport
  2. Work from Home (การทำงานจากบ้าน) พิสูจน์แล้วว่าพนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และองค์กรมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจที่ลดลง ทั้งค่าไฟและค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น อีกทั้งพนักงานประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการมาทำงานตามปกติ และมีเวลาว่างทำกิจกรรมส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น
  3. No More Dense (เลี่ยงการเบียดเสียด หนาแน่น รักษาระยะห่าง) เมื่อโลกยังไม่ค้นพบวัคซีน คนยังคงไม่กล้าเข้าร้านหรือสถานที่ที่มีการเบียดเสียด เช่น ธุรกิจร้านอาหารต้องเปลี่ยนรูปแบบบริการแบบใหม่สำหรับคนกลุ่มใหม่ที่ไม่ต้องการมานั่งทานในร้าน
  4. Dine For One (ทานข้าวคนเดียว) เทรนด์สังคมผู้สูงอายุทานข้าวคนเดียว (The older we get …the more often we eat alone) เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองที่เกิดมาพร้อมช่วงการแพร่เชื้อระบาด COVID-19 ที่คนจะมีพฤติกรรมนั่งทานอาหารคนเดียวมากยิ่งขึ้น โดยอัตราเฉลี่ยระยะเวลาในการทานข้าวคนเดียวน้อยมาก และทานไปเล่นมือถือไป อัตราโฆษณาในช่วงเวลาทานอาหารนี้จึงแพงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกว่าเวลาอื่นๆ ของแต่ละวัน
  5. More time viewing media – especially online video (เสพสื่อออนไลน์มากขึ้น) ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เสพสื่อออนไลน์กันมากอยู่แล้ว
  6. Focus on sustainable growth (เน้นเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน) ธุรกิจหรือองค์กรใดที่มีพันธกิจเชื่อมโยงและส่งเสริมกับ 17 เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ของโลก จะได้รับการสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญจากจากลูกค้าที่อยู่ในเจเนอเรชั่น Z และ Millennium
  7. Increased demand for direct-to-consumer brands (เข้าถึงลูกค้าโดยตรงมากขึ้น) เป็นยุคสิ้นสุดของธุรกิจตัวแทน แบรนด์กับผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้ากันได้เองโดยตรง ไม่ผ่านธุรกิจตัวแทน เช่น 7-11 ร้านซูเปอร์มาเก็ต เป็นต้น
  8. Increased in Automation and AI (การเพิ่มขึ้นของระบบออโต้และปัญญาประดิษฐ์) ในภาคการผลิตระบบออโต้และปัญญาประดิษฐ์จะมีส่วนสำคัญมากยิ่งขึ้น การใช้แรงงานคนจะลดลงอย่างมาก เช่น การใช้หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้า และในชีวิตประจำวันปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามามีบทบาทในอนาคตอันใกล้ เช่น ตู้เย็นอัจฉริยะ สามารถส่งคำสั่งรายการซื้อของได้
  9. Shaking of Property (การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรกายภาพ/อสังหาริมทรัพย์) กลุ่มห้างสรรพสินค้า, Co-Working Space และร้านค้าต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้ประกอบการธุรกิจหันไปเช่าร้าน หรือบ้านซึ่งอยู่นอกห้างแทน หรือขายออนไลน์ ซึ่งใช้ต้นทุนที่ต่ำมาก
  10. Re-direct of Global Supply Chain (ปรับทิศทางของห่วงโซ่อุปทานของโลก) เช่น การสั่งของข้ามทวีป เนื่องจากต้นทุนต่ำกว่า การย้ายโรงงานผลิตไปใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือประเทศที่มีค่าแรงต่ำเพื่อลดต้นทุนหลักในการดำเนินธุรกิจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *